ปัจจุบันการแก้ไขที่อยู่หรือที่จัดส่งเอกสารสามารถทำได้ง่ายมาก
สำหรับลูกค้าบุคคล เพียงโทรหาฝ่ายบริการลูกค้าที่เบอร์ 02-679-6226,02-679-6262 ต่อ 1713,1716
แจ้งที่อยู่และที่ส่งเอกสารใหม่ทางโทรศัพท์ก็เรียบร้อยแล้ว แต่ผู้แจ้งต้องเป็นเจ้าของบัญชีเท่านั้น
สำหรับลูกค้านิติบุคคล ให้แจ้งความจำนงค์เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตรา และจัดส่งมาที่ฝ่ายบริการลูกค้าบมจ. เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง ชั้น 24 อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ 175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 หรือมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
02-679-6226, 02-679-6262 ต่อ 1713,1716
สำหรับลูกค้าสาขา ส่งเอกสาร (นิติบุคคล) หรือโทรแจ้ง (บุคคลธรรมดา) ได้ที่สำนักงานของสาขาบริษัทฯ (ดูที่หน้า “ติดต่อเรา”)
โดยปกติลูกค้าที่ชำระค่างวดครบและตรงตามกำหนด (ที่ระบุในสัญญาเช่าซื้อ) จะไม่เสียค่าเบี้ยปรับแต่อย่างใด ลูกค้าที่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับ คือ ลูกค้า ที่ไม่ชำระค่างวด หรือชำระไม่ครบ หรือชำระครบแต่ไม่ตรงตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ บริษัทฯ จะคิดค่าเบี้ยปรับจาก 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ค่าเบี้ยปรับที่เกิดจากการชำระล่าช้า หมายถึง เงินค่างวดเช่าซื้อในส่วนที่ชำระล่าช้ากว่ากำหนด โดยบริษัทอนุโลมให้ชำระล่าช้าได้ แต่ต้อง ไม่เกินกว่าที่กำหนด 7 วัน นับจากวันครบกำหนด (เพื่อให้ลูกค้าได้เตรียมตัวย และในกรณีที่วันชำระอาจตรงกับเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์) เมื่อครบ 7 วันแล้วยังไม่ได้มียอดเงินชำระเข้ามาทางบริษัท จะเริ่มคิดค่าเบี้ยปรับรายวัน โดยเริ่มจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป และจะหยุดคิด เบี้ยปรับเมื่อลูกค้าชำระค่างวดจนครบไม่มียอดค้างชำระ ซึ่งการคิดค่าเบี้ยปรับในส่วนนี้ บริษัทฯ จะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกรุงไทย (MRR+ 10%) หรือเทียบเท่ากับ 18% ต่อปี (โดยประมาณ)
ตัวอย่าง นาย ก.ต้องส่งค่างดทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนโดยค่างวดที่ต้องชำระคือ 10,000 บาท ต่อเดือน ปรากฏว่าไม่สามารถชำระได้ตรงตามกำหนด โดยนาย ก. มาชำระวันที่ 18 ในเดือนเดียวกัน ดังนั้น ก. 39.46 บาทจะต้องจ่ายค่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงิน
นกรณีนี้ ถ้า นาย ก.มาชำระภายในวันที่ 10 แต่ไม่เกินวันที่ 17 บริษัทจะไม่คิดเบี้ยปรับ แต่ถ้ามาชำระวันที่ 18 บริษัทฯ จะคิดค่าเบี้ยปรับ จากวันที่ 10 (วันครบกำหนดชำระ) จนถึงวันที่ 18 (วันชำระ) รวมจำนวน 8 วัน
ส่วนที่ 2 ค่าเบี้ยปรับที่เกิดจากการติดตามทวงถาม ส่วนนี้บริษัทฯ จะคิดก็ต่อเมื่อ ลูกค้าค้างชำระค่างวด หรือ ชำระค่างวดล่าช้าเกินกำหนดตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปนับจากวันที่ครบกำหนด และจะคิดทุกๆ 30 วันหากยังมีการค้างชำระไม่ว่าจะค้างเป็นจำนวนเท่าใดก็ตามโดยบริษัทฯจะคิดค่าติดตามทวงถาม 300 บาทต่อเดือน
ในกรณีเดียวกัน ถ้าลูกค้ามสีการชำระเข้ามาในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป (เกิน 30 วันนับจากวันครบกำหนดชำระ) ซึ่งล่าช้า 31 วัน ลูกค้าจะต้องเสียเบี้ยปรับทั้ง 2 ส่วน (เบี้ยปรับล่าช้าและค่าติดตามทวงถาม) เพราะฉะนั้นค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสีย
ส่วนที่ 1 (เบี้ยปรับล่าช้า) | = | 10,000x18/100x31/365 |
= | 152.88 บาท | |
ส่วนที่ 2 (ค่าติดตาม) | = | 300.00 บาท |
รวมค่าเบี้ยปรับที่ต้องชำระทั้งสิ้น | = | 300+152.88 |
= | 452.88 บาท |
1. สมุดคู่มือจดทะเบียน (เฉพาะรถที่ไม่ได้เช่าซื้อกับบริษัทฯ)
2. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามพ.ร.บ.
3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพเอกชน (ตรอ.) กรณีที่รถอายุเกิน 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยติดต่อ วนงานทะเบียน (ตามเบอร์โทรที่อยู่ด้านหน้าเอกสาร)
โดยปกติลูกค้าที่จะโอนเล่มทะเบียนได้นั้น ลูกค้าต้องไม่มียอคค้างกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นค่างวดหรือค่าเบี้ยปรับ
ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทจะมีจดหมายแจ้งยอดปิดบัญชีให้ทราบล่วงหน้า 2 งวด ก่อนถึงกำหนดชำระงวดสุดท้าย เพื่อให้ท่านเตรียมตัวล่วงหน้าเมื่อท่านชำระค่างวด, ค่าปรับ และค่าติดตาม (ถ้ามี) เสร็จสิ้นแล้ว ท่านจะต้องดำเนินการดังนี้
สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ
1. มาติดต่อที่บริษัทฯ เพื่อเซ็นต์เอกสารชุดโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมชำระค่าโอน 1,600 บาท กรณีภาษีหมดอายุต้องชำระค่าภาษีประจำปีเพิ่มแล้วแต่ประเภทรถ โดยโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ทะเบียนเพื่อทราบค่าภาษีอีกครั้ง และต้องเตรียมพรบ. ภาคบังคับมาด้วย (กรณีซื้อเอง) หรือจะมาซื้อที่บริษัทฯ ก็ได้
2. เตรียมสำเนาบัตรประชาชน (ที่ยังไม่หมดอายุ) สำเนาทะเบียนบ้าน และรับรองสำเนาถูกต้องอย่างละ 2 ชุด ถ้าเป็นนิติบุคคลจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม
3. หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าบริการเกิน 1 พัน
4. หนังสือจดทะเบียนบริษัท (อายุไม่เกิน 3 เดือน) และบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องและประทับตรา (ถ้ามี) อย่างละ 2 ชุด
สำหรับรถที่จดทะเบียนบรรทุก
1. ลูกค้าติดต่อที่บริษัท เพื่อขอเซ็นต์เอกสารชุดโอนกรรมสิทธิ์พร้อมชำระค่าโอน (โปรดสอบถามค่าโอนก่อนเข้ามาบริษัท เนื่องจากค่าโอนไม่แน่นอน โดยเฉพาะรถที่จดทะเบียนต่างจังหวัด) กรณีภาษีหมดอายุต้องชำระค่าภาษีประจำปีเพิ่ม แล้วแต่ประเภทรถ โดยโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ทะเบียนเพื่อทราบค่าภาษีอีกครั้ง และต้องเตรียมพรบ. ภาคบังคับมาด้วย (กรณีซื้อเอง) หรือจะมาซื้อที่บริษัทฯ ก็ได้
2. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 2 ชุด ถ้าเป็นนิติบุคคลจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม
3. หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีเป็นนิติบุคคลค่าบริการเกิน 1 พัน
4. หนังสือจดทะเบียนบริษัท (อายุไม่เกิน 3 เดือน) และบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตรา (ถ้ามี) อย่างละ 2 ชุด
ในคราวเดียวเพื่อปิดบัญชี ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องให้ส่วนลดในส่วนของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ตัวอย่าง
ลูกค้าทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยทำสัญญาผ่อนชำระ 12 งวด งวดละ 11,000 บาท (รวม VAT =11,770) โดยเงินที่ชำระเข้ามาจะถูกลดยอดลงตามตารางที่แสดงข้างล่าง
สำหรับการโอนสัญญาเปลี่ยนผู้เช่าซื้อจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
สำหรับผู้เช่าซื้อเดิม
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้เช่าซื้อเดิมหรือสำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ (กรณีผู้เช่าซื้อเป็นนิติบุคคล) จำนวน 1 ชุด
2. ตราประทับบริษัท กรณีเป็นผู้เช่าซื้อเดิมเป็นนิติบุคคล
สำหรับผู้เช่าซื้อใหม่
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านที่ยังไม่หมดอายุของผู้เช่าซื้อใหม่ และผู้ค้ำประกันของคนใหม่อย่างละ 1 ชุด
2. หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทอายุไม่เกิน 3 เดือน พร้อมนำตราประทับบริษัทมาด้วย กรณีเป็นนิติบุคคล
3. เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ของผู้เช่าซื้อใหม่ และผู้ค้ำประกันคนใหม่
4. หนังสือเอกสารการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ (ถ้ามี) เพื่อช่วยให้การอนุมัติสินเชื่อรวดเร็วขึ้น
5. สำเนาบัญชีธนาคารจากปัจจุบันย้อนหลัง 6 เดือน
6. ลอกลายเลขเครื่อง และเลขตัวถังรถที่ทำเช่าซื้ออย่างละ 2 ชุด
7. นำรถที่จะโอนสัญญามาที่บริษัทฯ ด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินว่าเป็นรถคันเดียวกัน และอยู่ในสภาพใช้การได้ดี
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ให้โทรนัดเจ้าหน้าที่สินเชื่อ เพื่อนัดวันโอนสัญญาโดยผู้เช่าซื้อคนเดิมผู้เช่าซื้อคนใหม่ และผู้ค้ำประกันของผู้เช่าซื้อคนใหม่จะต้องมาพบเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่บริษัทฯ
ในการโอนสัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อยว่าใครจะรับส่วนใดก่อนมาพบเจ้าหน้าที่ ซึ่งการโอนสัญญาจะมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าโอนสัญญา (กรุณาสอบถามจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ท่านนัดหมาย)
2. ผู้เช่าซื้อเดิมชำระค่างวดที่ค้างทั้งหมด พร้อมค่าปรับต่าง ๆ (ถ้ามี) กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า เมื่อทราบวันที่จะเข้ามาโอนสัญญาแน่นอนแล้ว
3. ผู้เช่าซื้อใหม่เตรียมเงินมาชำระค่างวดล่วงหน้าต่ออีก 2 งวด
บริษัทฯ มีหลักเกณฑ์ และที่มาของการคิดเบี้ยปรับอย่างไร
โดยปกติลูกค้าที่ชำระค่างวดควบ และตรงตามกำหนด (ที่ระบุในสัญญาเช่าซื้อ) จะไม่เสียค่าเบี้ยปรับแต่อย่างใด ลูกค้าที่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับคือลูกค้าที่ไม่ชำระค่างวด หรือ ชำระไม่ครบ หรือ ชำระครบแต่ไม่ตรงตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อบริษัทฯ จะคิดค่าเบี้ยปรับจาก 2 ส่วน
ส่วนที่1 ค่าเบี้ยปรับที่เกิดจากการชำระล่าช้า หมายถึงเงินค่างวดเช่าซื้อในส่วนที่ชำระล่าช้ากว่ากำหนด โดยบริษัทอนุโลมให้ชำระล่าช้าได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กำหนด 7 วัน นับจากวันครบกำหนด (เพื่อให้ลูกค้าได้เตรียมตัวย และในกรณีที่วันชำระอาจตรงกับเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์) เมื่อครบ 7 วันแล้วยังไม่ได้มียอดเงินชำระเข้ามาทางบริษัทจะเริ่มคิดค่าเบี้ยปรับรายวัน โดยเริ่มจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป และจะหยุดคิดเบี้ยปรับเมื่อลูกค้าชำระค่างวดจนครบไม่มียอดค้างชำระ ซึ่งการคิดค่าเบี้ยปรับในส่วนนี้บริษัทฯ จะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกรุงไทย (MRR+10%) หรือเทียบเท่ากับ 18% ต่อปี (โดยประมาณ)
ตัวอย่าง นาย ก.ต้องส่งค่างดทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนโดยค่างวดที่ต้องชำระคือ 10,000 บาท ต่อเดือน ปรากฏว่าไม่สามารถชำระได้ตรงตามกำหนด โดยนาย ก. มาชำระวันที่ 18 ในเดือนเดียวกัน ดังนั้น ก. 39.46 บาท จะต้องจ่ายค่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงิน
ในกรณีนี้ ถ้านาย ก.มาชำระภายในวันที่ 10 แต่ไม่เกินวันที่ 17 บริษัทจะไม่คิดเบี้ยปรับ แต่ถ้ามาชำระวันที่ 18 บริษัทฯ จะคิดค่าเบี้ยปรับจากวันที่ 10 (วันครบกำหนดชำระ) จนถึงวันที่ 18 (วันชำระ) รวมจำนวน 8 วัน
ส่วนที่2 ค่าเบี้ยปรับที่เกิดจากการติดตามทวงถาม ส่วนนี้บริษัทฯ จะคิดก็ต่อเมื่อลูกค้าค้างชำระค่างดหรือชำระค่างวดล่าช้าเกินกำหนดตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปนับจากวันที่ครบกำหนด และจะคิดทุก ๆ 30 วันหากยังมีการค้างชำระไม่ว่าจะค้างเป็นจำนวนเท่าใดก็ตามโดยบริษัทฯ จะคิดค่าติดตามทวงถาม 300 บาทต่อเดือน
ในกรณีเดียวกัน ถ้าลูกค้ามสีการชำระเข้ามาในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป (เกิน 30 วันนับจากวันครบกำหนดชำระ) ซึ่งล่าช้า 31 วัน ลูกค้าจะต้องเสียเบี้ยปรับทั้ง 2 ส่วน (เบี้ยปรับล่าช้าและค่าติดตามทวงถาม) เพราะฉะนั้นค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสีย
ส่วนที่ 1 (เบี้ยปรับล่าช้า) | = | 10,000x18/100x31/365 |
= | 152.88 บาท | |
ส่วนที่ 2 (ค่าติดตาม) | = | 300.00 บาท |
รวมค่าเบี้ยปรับที่ต้องชำระทั้งสิ้น | = | 300+152.88 |
= | 452.88 บาท |